วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2561

- ข่าวสาร ความรู้เคมี #1 -

การค้นพบธาตุใหม่ 4 ธาตุ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2558 IUPAC (International Union of Pure and Applied Chemistry)


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 4 ธาตุใหม่

เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2558 IUPAC (International Union of Pure and Applied Chemistry) ได้ประกาศการพิสูจน์ยืนยันการค้นพบธาตุใหม่ 4 ธาตุ ที่มีเลขอะตอม 113 115 117 และ 118 ทำให้ตารางธาตุคาบที่ 7 เต็มพอดีจากการประชุมร่วมกันระหว่าง IUPAC และ IUPAP (International Union of Pure and Applied Physics) ยืนยันว่า การค้นพบธาตุใหม่ 4 ธาตุดังกล่าวนี้ เป็นการค้นพบร่วมกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์จากประเทศญี่ปุ่น รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา เป็นไปตามข้อกำหนดการค้นพบธาตุใหม่ “1991 IUPAP / IUPAC Transfermium Working Group (TWG)”
  • ธาตุที่ 113 (ชื่อและสัญลักษณ์ชั่วคราวคือ ununtrium-Uut) ผู้ที่ค้นพบและพิสูจน์ยืนยันธาตุนี้เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ห้องปฏิบัติการ RIKEN มหาวิทยาลัยคิวชู ประเทศญี่ปุ่น
  • ธาตุที่ 115 และ 117  (ชื่อและสัญลักษณ์ชั่วคราวคือ ununpentium-Uup และ ununseptium-Uus ) เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์จาก 3 ห้องปฏิบัติการ คือ ห้องปฏิบัติการ Joint Institute for Nuclear เมืองดับนา (Dubna) ประเทศรัสเซีย ห้องปฏิบัติการ Lawrence Livermore National Laboratory ที่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และ Oak National Laboratory ที่เมืองโอ๊กริดจ์ รัฐเทนเนสซี่ สหรัฐอเมริกา 
  • ธาตุที่ 118 (ชื่อและสัญลักษณ์ชั่วคราวคือ ununoctium-Uuo) เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์จาก 2 ห้องปฏิบัติการ คือ ห้องปฏิบัติการ Join Institute for Nuclear เมืองดับนา (Dubna) ประเทศรัสเซีย และห้องปฏิบัติการ Lawrence Livermore National Laboratory ที่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบธาตุใหม่ (เท่านั้น) ที่จะได้รับเชิญให้เสนอการตั้งชื่อใหม่ โดยการเสนอไปยังคณะกรรมการ IUPAC Division II (Inorganic) และขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการ IUPAC Division III ซึ่งต้องพิจารณาชื่อ และตรวจสอบให้เป็นไปตามข้อกำหนดการตั้งชื่อธาตุของ IUPAC หลังจากนั้นจะมีการเผยแพร่ทั่วไปเพื่อให้มีการวิจารณ์ (Public review) เป็นเวลา 5 เดือน ก่อนที่องค์กรสูงสุดของ IUPAC (IUPAC Council) จะตัดสินว่าให้ชื่อใดและบรรจุไว้ในตารางต่อไป ทั้งนี้ในระหว่างที่ยังไม่มีการตัดสินโดย IUPAC Council ชื่อธาตุและเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอชื่อจะถูกเก็บไว้เป็นความลับโดยไม่ให้มีการเผยแพร่

ที่มา : Chemical Society of Thailand

*** เพิ่มเติม (18 มิถุนายน 2016) ***

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 4 ธาตุใหม่

ในเดือนมิถุนายน ปี 2016 IUPAC หรือ International Union of Pure and Applied Chemistry,หรือรู้จักใน ไทยว่า "สหภาพเคมบริสุทธิและเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ" ได้เสนอชื่อใหม่ในตารางธาตุ 4 ธาตุ ดังนี้
  • อุนอุนเทรียม (Ununtrium: Uut) (เดิม) หรืออีกชื่อเรียกว่า "เอกา-แทลเลียม (eka-thallium) มีเลขอะตอม 113 เปลี่ยนเป็นชื่อ "นโฮเนียม" สัญลักษณ์ธาตุเป็น Nh ชื่อ นิโฮเนียม เป็นชื่อที่มีรากศัพท์มาจากการเริยกชื่อประเทศญี่ปุ่นในภาษาญี่ปุ่น
  • อุนอุนเพนเทียม (Ununpentium: Uup) (เดิม) หรืออีกชื่อเรียกว่า “เอกา-บิสมัท (eka-bismuth)" เป็นธาตุ กัมมันตรังสีหนักมาก (Superheavy) มีเลขอะตอม 115 เปลี่ยนเป็นชื่อ "มอสโกเวียม" สัญลักษณ์ธาตุเป็น MC ชื่อ มอสโกเวียม เป็นชื่อตามมณฑลมอสโก (Moscow Oblast) ที่สถาบันร่วมวิจัยนิวเคลียร์ตั้งอยู่
  • อุนอุนเซปเทียม (Ununseptium: Uus) (เดิม) หรืออีกชื่อเรียกว่า "เอกา-แอสทาทีน" (eka-astatine) มีเลข อะตอม 117 เปลี่ยนเป็นชื่อ "เทนเนสซีน" สัญลักษณ์ธาตุเป็น TS ชื่อ เทนเนสซีน เป็นชื่อรัฐเทนเนสซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ค้นพบครั้งแรกเมื่อ 2010 โดยนักวิทยาศาสตร์ในโครงการการร่วมมือระหว่างรัสเซีย- อเมริกาที่เมืองดบนา ประเทศรัสเซีย
  • อุนอุนออกเทียม (Ununoctium Uuo) (เดิม) หรืออีกชื่อเรียกว่า "เอคา-เรดอน" มีเลขอะตอม 118 ซึ่งเป็นธาตุที่มีเลขอะตอมมากที่สุดในปัจจุบันเปลี่ยนเป็นชื่อ "โอกาเนสซอน" ใช้สัญลักษถชาตุเป็น Og ชื่อ โอกาเนสซีอน ซอน" มาจากชื่อนักฟิสิกส์น้าเคลียร์ชาวรัสเซีย ยู่ริ โอกาเนสเซียน ตั้งแต่พบเมื่อปี 2002 ถึงปัจจุบันก็สังเคราะห์ ได้เพียง 3 อะตอมเท่านั้น! อะตอมแรกพบเมื่อปี 2002 ua:on 2 อะตอมพบเมีออ 2005 โดยคณะวิจัยจาก สถาบันความร่วมมือเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์ คุบนา สหพันธรัฐรัสเซีย
ที่มา : ThaiPhysics

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น