วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2561

- ข่าวสาร ความรู้เคมี #6 -

ตรวจสอบแล้ว! สารเคมี ใน ซ.พหลฯ24 เป็น อีลีเดียม 192

เมื่อเวลาประมาณ 15.20 น. ที่ผ่านมา เพจ FM. 91 Trafficpro ได้รายงานว่าเกิดเหตุสารเคมีรั่วไหลในโกดังสินค้าแห่งซ.พหลฯ 24 เบื้องต้นเจ้าหน้าที่จากสำนักงานปรมณูเพื่อสันติ เข้าตรวจสอบแล้ว พร้อมสั่งเร่งอพยพคนออกจากพื้นที่ และประกาศให้ประชาชนที่อยู่บริเวณดังกล่าว ปิดประตูและหน้าต่างเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

สารกัมมันตรังสีโคบอลต์ 60

เบื้องต้นคาดว่า เป็น สารกัมมันตรังสีโคบอลต์ 60 ซึ่งเป็นสารอันตราย ที่ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ที่ถูกรังสีนี้จะให้เกิดเม็ดเลือดขาวต่ำ มีอาการอ่อนเพลีย มือไหม้พอง และสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งบางคนมีอาการตื่นกลัวไม่ยอมรักษาโดยวิธีฉายรังสีจากโคบอลท์-60 หรือสารรังสีหรือแร่โคบอลท์-60 ประกอบด้วย รังสีแกมม่าและรังสีเบต้าและรังสีที่ใช้เป็นตัวรักษาเป็นอันตราย
     รังสีแกมมา มีแรงทะลุทลวงมากกว่า รังสีเบต้ามากโคบอลท์-60 เป็นสารรังสีที่ใช้ในทางการแพทย์ในไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2501 โดยปัจจุบันใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีแกมม่า สำหรับรักษาโรคมะเร็ง โดยอาศัยคุณสมบัติของรังสีที่สามารถทำลายเซลล์มะเร็ง ทำให้ผู้ป่วยหายจากโรคมะเร็งได้ และปัจจุบันนี้ก็มีผู้ป่วยมะเร็งชาวไทยจำนวนมากมายที่รอดชีวิตจากโรคมะเร็งเกิน 10-30 ปี
ที่มา news.mthai

ล่าสุด 
   เจ้าหน้าที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติเข้าตรวจสอบถังสารเคมีที่พบในซอยพหลโยธิน 24 แยก 2-1 ไม่ใช่กัมมันตรังสี ชนิดโคบอลต์60  แต่เป็นสารอีลีเดียม 192 ไม่พบการรั่วไหล
คืบหน้าล่าสุดเจ้าหน้าที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ยืนยันสารเคมีที่พบไม่ใช่โคบอล์ต 60 ไม่มีการรั่วไหล ระบุเป็นอีลีเดียม 192 ใช้ตรวจรอยเชื่อมในภาคอุตฯ ระดับรังสีหมดลงแล้ว พร้อมระบุว่าแม้ตรวจจสอบพบว่าอุปกรณ์ชิ้นนี้จะใช้งานและระดับรังสีหมดไปแล้ว ก็จะเคลื่อนย้ายไปไว้ที่สำนักงานเพื่อให้ประชาชนมั่นใจ

โดยเจ้าหน้าที่จากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากนี้สามารถตรวจสอบได้ว่าบริษัทใดเป็นผู้นำเข้าอุปกรณ์ชิ้นนี้ การนำมาทิ้งไว้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะทำการสอบสวนต่อไปเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด ส่วนใครที่พบเจอวัตถุต้องสงสัยที่มีสัญลักษณ์เกี่ยวกับรังสี สามารถแจ้งได้ที่ 089-200-6243 ได้ตลอด 24 ชม.
ข้อมูลจาก VoiceTv


วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2561

- ข่าวสาร ความรู้เคมี #5 -

วิทยาศาสตร์เปลี่ยน CO2 ให้กลายเป็น ‘หิน’ ใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือน



กิจกรรมของมนุษย์ปล่อย ‘คาร์บอนไดออกไซด์’ (CO2) ปริมาณมหาศาล แม้เราสามารถพัฒนาวิทยาการเพื่อลดการปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศได้แล้ว แต่ค่าใช้จ่ายยังโขอยู่ แล้วเรามีวิธีที่ดีกว่านี้ไหม?
ถ้าอย่างนั้นก็ฝังให้กลายเป็น ‘หิน’ ซะเลยสิ! ทีมนักวิจัยนานาชาติพยายามศึกษาความเป็นไปได้ โดยการปั้ม CO2 ลงไปในชั้นใต้ดินและเปลี่ยนสารองค์ประกอบมันเสียหน่อย ซึ่ง CO2 จะกลายเป็นของแข็งโดยใช้เวลาไม่กี่เดือน ทำให้การจัดการกากของเสียจากโรงไฟฟ้าเป็นไปได้อย่างปลอดภัยและรบกวนธรรมชาติน้อยที่สุด
โครงการนี้ใช้ชื่อรหัสว่า CarbFix ทดลองติดตั้งในโรงไฟฟ้า Hellisheidi โดยปั้มลงไปชั้นหินบะซอลภูเขาไฟใต้โรงงานนี้เอง เมื่อหินบะซอลทำปฏิกิริยากับ CO2 และน้ำ ตะกอนคาร์บอนจะเปลี่ยนเป็นสีขาวมีความแข็ง ไม่ซึมขึ้นมาบนผิวดิน ไม่ละลายน้ำ ตัดปัญหาการปนเปื้อนสภาพแวดล้อมแบบโล่งอกโล่งใจ
อ้างอิง : science.sciencemag.org


ที่มา TheMATTER 




วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2561

- ข่าวสาร ความรู้เคมี #4 -

แอลเอชซีทดลองเร่งอะตอมตัวแรกเข้าใกล้ความเร็วแสง

เครื่องชนอนุภาค LHC
องค์การเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรปหรือเซิร์น (CERN) แถลงว่าเครื่องชนอนุภาคขนาดใหญ่แอลเอชซี (LHC)ได้ทำการทดลองพิเศษก่อนปิดเครื่องซ่อมบำรุงประจำปี โดยได้เร่งให้อนุภาคของตะกั่วทั้งอะตอมเข้าใกล้ความเร็วแสง ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญไปสู่การผลิตรังสีแกมมาพลังงานสูงที่อาจนำไปสู่การค้นพบสสารชนิดใหม่ได้
ตามปกติแล้วเครื่องชนอนุภาคแอลเอชซีมักทำการทดลองชนโปรตอน ซึ่งเป็นอนุภาคมูลฐานภายในนิวเคลียสของอะตอมเป็นหลัก แต่ในการทดลองพิเศษเมื่อวันที่ 25 ก.ค. ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ตัดสินใจทดลองเร่งความเร็วของสสารทั้งอะตอมให้เข้าใกล้ความเร็วแสงเป็นครั้งแรก โดยใช้อะตอมของตะกั่วที่มีอิเล็กตรอน 1 ตัวในการทดลองครั้งนี้
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ cern logoนักฟิสิกส์และวิศวกรของเซิร์นระบุว่า การทดลองดังกล่าวถือเป็นขั้นแรกในการทดสอบแนวคิด "โรงงานรังสีแกมมา" (Gamma Factory) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญคาดว่าการเร่งสสารทั้งอะตอมจะทำให้แอลเอชซีสามารถผลิตลำแสงรังสีแกมมาพลังงานสูงไว้ใช้ เพื่อค้นหาสสารชนิดใหม่ ๆ เช่นสสารที่มีมวลมาก หรือแม้แต่ผลิตสสารมืด (Dark matter) ขึ้นมาเองได้
หากแอลเอชซีสามารถเพิ่มศักยภาพในการเป็น "โรงงานรังสีแกมมา" ได้สำเร็จ จะมีการใช้เลเซอร์ยิงอะตอมที่ถูกเร่ง เพื่อให้อิเล็กตรอนกระโดดสู่ระดับพลังงานที่สูงขึ้น เมื่ออิเล็กตรอนดังกล่าวกลับคืนสู่ภาวะปกติ จะมีการคายพลังงานในรูปของโฟตอนหรืออนุภาคของแสงที่มีพลังมหาศาลออกมา ซึ่งก็คือลำแสงรังสีแกมมาที่ต้องการนั่นเอง
แต่อย่างไรก็ตาม การเร่งอนุภาคทั้งอะตอมนั้นทำได้ยาก เพราะโครงสร้างของอะตอมที่เปราะบางอาจทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกไประหว่างการทดลองและส่วนนิวเคลียสชนเข้ากับผนังท่อเร่งความเร็วได้ จึงต้องมีการทดสอบหาระดับพลังงานในการเร่งอนุภาคทั้งอะตอมที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดลำรังสีแกมมาที่มีความเสถียรเป็นเวลานานมากเพียงพอต่อการใช้งาน
รังสีแกมมาพลังงานสูงสามารถให้กำเนิดอนุภาคชนิดต่าง ๆ ทั้งที่เป็นสสารชนิดปกติทั่วไปเช่น ควาร์ก อิเล็กตรอน และอนุภาคมิวออน รวมทั้งสสารที่มีมวลมากซึ่งสามารถเปลี่ยนรูปต่อไปเป็นสสารหายากเช่นสสารมืดได้
ที่มา : BBC News Thai

- ข่าวสาร ความรู้เคมี #3 -


สั่งปิดโรงงานซิลิโคนเคมีรั่ว ชี้เกิดจากท่อเสื่อมสภาพ


ระทึก! โรงงานซิลิโคน ระยอง สารเคมีรั่วไหล ระบุเป็นโรงงานเดียวที่เคยเกิดเหตุเมื่อ 3 เดือนก่อน ด้านรองผวจ.โรงงานแจงเกิดจากท่อเสื่อมสภาพ นิคมเอเซียฯสั่งปิดจนกว่าจะซ่อมจนได้มาตรฐานพุธที่ 24 มกราคม 2561 เวลา 13.46 น.


เมื่อวันที่ 24 ม.ค.นายฉกาจ พัฒนศรี ผอ.สำนักงานนิคมอุตสาหกรรม ร่วมดำเนินการกลุ่มมาบตาพุด จ.ระยอง ได้รับแจ้งเกิดเหตุสารเคมีรั่วไหลที่ บริษัทเอเซีย ซิลิโคน โมโนเมอร์จำกัด (ASM) นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย เลขที่ 1 หมู่ 2 ต.บ้านฉาง อ.บ้านฉาง จ.ระยอง มีควันสีขาวพวยพุ่งทั่วบริเวณ จึงประสานไปทางบริษัทที่เกิดเหตุ และเจ้าหน้าที่เดินทางเข้าตรวจสอบในที่เกิดเหตุทันที โดยที่เกิดเหตุพบควันสีขาวได้ฟุ้งกระจายปกคลุมบริเวณท่อส่งสารเคมีภายในโรงงาน ซึ่งทางทีมดับเพลิงของทางบริษัท ได้มีการนำสารดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ไปฉีดปกคลุมในจุดที่มีสารรั่วไหลโดยใช้เวลานานประมาณ 1 ชั่วโมง จึงสามารถสกัดการรั่วไหลไว้ได้

ด้านนายอรรถพงศ์ ลิมปนารักษ์ รองผู้จัดการทั่วไป บริษัทเอเซีย ซิลิโคนส์ โมโนเมอร์ จำกัด กล่าวว่า สำหรับสาเหตุเกิดจากการรั่วไหลของสารไซเลนในระบบท่อ ส่งสารไซเลนจากถังปฏิกิริยาเมธิคลอโลไซเลน (MCS reactor ,RE-12201)ซึ่งเป็นสารตั้งต้นผลิตซิลิโคน ได้รั่วตรงช่วงข้องอของท่อ ซึ่งอาจเกิดจากความเสื่อมสภาพ  ซึ่งทางทีมตอบโต้ฉุกเฉินของบริษัทเข้าระงับเหตุทันที

ขณะที่นายฉกาจ พัฒนศรี ผอ.สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมร่วมฯ กล่าวว่า ขณะนี้ได้ให้ทางโรงงานหยุดดำเนินการบริเวณจุดเกิดเหตุเป็นการชั่วคราวและหาสาเหตุ พร้อมให้ควบคุมดูแลปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำอีก และให้รายงานภายใน 15 วัน  

สำหรับบริษัทนี้เคยเกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้นที่ขบวนการผลิต เมื่อวันที่ 19 ต.ค.60 ที่ผ่านมาเช่นกัน 


ที่มา : เดลินิวส์




วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2561

- ข่าวสาร ความรู้เคมี #2 -

เตือนโรงน้ำแข็ง“ก๊าซแอมโมเนียรั่ว”สงกรานต์



นางสุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เปิดเผยว่า สถิติการเกิดอุบัติภัยสารเคมีในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2561 พบว่ามีเเหตุรั่วไหลของก๊าซแอมโมเนียเกิดขึ้นแล้ว จำนวน 6 ครั้ง และอาจจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีกโดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนและเข้าสู่เทศกาลสงกรานต์ จึงทำให้มีความต้องการบริโภคน้ำแข็งมากกว่าช่วงเวลาอื่นของปี ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักจะเร่งกำลังการผลิต ทำให้ระบบทำความเย็นทำงานหนักจึงเพิ่มความเสี่ยง ก๊าซแอมโมเนียจากความบกพร่องของอุปกรณ์ เช่น วาล์วรั่ว ท่อขนส่งแตกหรือประเก็นรั่ว เป็นต้นซึ่งการรั่วไหลของก๊าซมีความเป็นพิษต่อระบบการหายใจ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและหากมีน้ำเสียจากการดับเพลิงหรือการดักจับก๊าซแอมโมเนียถูกปล่อยสู่แหล่งน้ำสาธารณะสามารถทำให้ปลาและสัตว์น้ำตายได้ เนื่องจากแอมโมเนียมีความเป็นพิษ

นางสุวรรณากล่าวว่า ทั้งนี้ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น คพ.ได้จัดทำเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับก๊าซแอมโมเนีย อาทิ ความเป็นอันตรายจากการรับสัมผัสทางการหายใจ ผิวหนังและดวงตา แนวทางการปฐมพยาบาลผู้ได้รับผลกระทบ และการพิจารณาอพยพประชาชนออกจากพื้นที่เกิดเหตุ เพื่อให้หน่วยงานต่างๆใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการกู้ภัยของหน่วยงานท้องถิ่นและสอบถามสายด่วน 1650 ตลอด 24 ชั่วโมง.

ที่มา : ไทยรัฐ


- ข่าวสาร ความรู้เคมี #1 -

การค้นพบธาตุใหม่ 4 ธาตุ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2558 IUPAC (International Union of Pure and Applied Chemistry)


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 4 ธาตุใหม่

เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2558 IUPAC (International Union of Pure and Applied Chemistry) ได้ประกาศการพิสูจน์ยืนยันการค้นพบธาตุใหม่ 4 ธาตุ ที่มีเลขอะตอม 113 115 117 และ 118 ทำให้ตารางธาตุคาบที่ 7 เต็มพอดีจากการประชุมร่วมกันระหว่าง IUPAC และ IUPAP (International Union of Pure and Applied Physics) ยืนยันว่า การค้นพบธาตุใหม่ 4 ธาตุดังกล่าวนี้ เป็นการค้นพบร่วมกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์จากประเทศญี่ปุ่น รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา เป็นไปตามข้อกำหนดการค้นพบธาตุใหม่ “1991 IUPAP / IUPAC Transfermium Working Group (TWG)”
  • ธาตุที่ 113 (ชื่อและสัญลักษณ์ชั่วคราวคือ ununtrium-Uut) ผู้ที่ค้นพบและพิสูจน์ยืนยันธาตุนี้เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ห้องปฏิบัติการ RIKEN มหาวิทยาลัยคิวชู ประเทศญี่ปุ่น
  • ธาตุที่ 115 และ 117  (ชื่อและสัญลักษณ์ชั่วคราวคือ ununpentium-Uup และ ununseptium-Uus ) เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์จาก 3 ห้องปฏิบัติการ คือ ห้องปฏิบัติการ Joint Institute for Nuclear เมืองดับนา (Dubna) ประเทศรัสเซีย ห้องปฏิบัติการ Lawrence Livermore National Laboratory ที่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และ Oak National Laboratory ที่เมืองโอ๊กริดจ์ รัฐเทนเนสซี่ สหรัฐอเมริกา 
  • ธาตุที่ 118 (ชื่อและสัญลักษณ์ชั่วคราวคือ ununoctium-Uuo) เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์จาก 2 ห้องปฏิบัติการ คือ ห้องปฏิบัติการ Join Institute for Nuclear เมืองดับนา (Dubna) ประเทศรัสเซีย และห้องปฏิบัติการ Lawrence Livermore National Laboratory ที่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบธาตุใหม่ (เท่านั้น) ที่จะได้รับเชิญให้เสนอการตั้งชื่อใหม่ โดยการเสนอไปยังคณะกรรมการ IUPAC Division II (Inorganic) และขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการ IUPAC Division III ซึ่งต้องพิจารณาชื่อ และตรวจสอบให้เป็นไปตามข้อกำหนดการตั้งชื่อธาตุของ IUPAC หลังจากนั้นจะมีการเผยแพร่ทั่วไปเพื่อให้มีการวิจารณ์ (Public review) เป็นเวลา 5 เดือน ก่อนที่องค์กรสูงสุดของ IUPAC (IUPAC Council) จะตัดสินว่าให้ชื่อใดและบรรจุไว้ในตารางต่อไป ทั้งนี้ในระหว่างที่ยังไม่มีการตัดสินโดย IUPAC Council ชื่อธาตุและเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอชื่อจะถูกเก็บไว้เป็นความลับโดยไม่ให้มีการเผยแพร่

ที่มา : Chemical Society of Thailand

*** เพิ่มเติม (18 มิถุนายน 2016) ***

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 4 ธาตุใหม่

ในเดือนมิถุนายน ปี 2016 IUPAC หรือ International Union of Pure and Applied Chemistry,หรือรู้จักใน ไทยว่า "สหภาพเคมบริสุทธิและเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ" ได้เสนอชื่อใหม่ในตารางธาตุ 4 ธาตุ ดังนี้
  • อุนอุนเทรียม (Ununtrium: Uut) (เดิม) หรืออีกชื่อเรียกว่า "เอกา-แทลเลียม (eka-thallium) มีเลขอะตอม 113 เปลี่ยนเป็นชื่อ "นโฮเนียม" สัญลักษณ์ธาตุเป็น Nh ชื่อ นิโฮเนียม เป็นชื่อที่มีรากศัพท์มาจากการเริยกชื่อประเทศญี่ปุ่นในภาษาญี่ปุ่น
  • อุนอุนเพนเทียม (Ununpentium: Uup) (เดิม) หรืออีกชื่อเรียกว่า “เอกา-บิสมัท (eka-bismuth)" เป็นธาตุ กัมมันตรังสีหนักมาก (Superheavy) มีเลขอะตอม 115 เปลี่ยนเป็นชื่อ "มอสโกเวียม" สัญลักษณ์ธาตุเป็น MC ชื่อ มอสโกเวียม เป็นชื่อตามมณฑลมอสโก (Moscow Oblast) ที่สถาบันร่วมวิจัยนิวเคลียร์ตั้งอยู่
  • อุนอุนเซปเทียม (Ununseptium: Uus) (เดิม) หรืออีกชื่อเรียกว่า "เอกา-แอสทาทีน" (eka-astatine) มีเลข อะตอม 117 เปลี่ยนเป็นชื่อ "เทนเนสซีน" สัญลักษณ์ธาตุเป็น TS ชื่อ เทนเนสซีน เป็นชื่อรัฐเทนเนสซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ค้นพบครั้งแรกเมื่อ 2010 โดยนักวิทยาศาสตร์ในโครงการการร่วมมือระหว่างรัสเซีย- อเมริกาที่เมืองดบนา ประเทศรัสเซีย
  • อุนอุนออกเทียม (Ununoctium Uuo) (เดิม) หรืออีกชื่อเรียกว่า "เอคา-เรดอน" มีเลขอะตอม 118 ซึ่งเป็นธาตุที่มีเลขอะตอมมากที่สุดในปัจจุบันเปลี่ยนเป็นชื่อ "โอกาเนสซอน" ใช้สัญลักษถชาตุเป็น Og ชื่อ โอกาเนสซีอน ซอน" มาจากชื่อนักฟิสิกส์น้าเคลียร์ชาวรัสเซีย ยู่ริ โอกาเนสเซียน ตั้งแต่พบเมื่อปี 2002 ถึงปัจจุบันก็สังเคราะห์ ได้เพียง 3 อะตอมเท่านั้น! อะตอมแรกพบเมื่อปี 2002 ua:on 2 อะตอมพบเมีออ 2005 โดยคณะวิจัยจาก สถาบันความร่วมมือเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์ คุบนา สหพันธรัฐรัสเซีย
ที่มา : ThaiPhysics