วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2561

- ข่าวสาร ความรู้เคมี #9 -

4 อาชีพเสี่ยง "โรคผิวหนังจากสารเคมี"
โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ เผยผู้ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม และอาชีพเกษตรกรเสี่ยงโรคผิวหนังที่เกิดจากสารเคมี แนะสวมอุปกรณ์ป้องกัน หลีกเลี่ยงการสัมผัส หากมีอาการระคายเคือง หรือผดผื่นให้รีบไปพบแพทย์

โรคผิวหนัง จากสารเคมี

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคผิวหนังที่เกิดจากสารเคมี เป็นโรคที่พบบ่อยมากในกลุ่มผู้ที่ทำงานก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม และอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้วัสดุและสารเคมีที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังอย่างแพร่หลาย มีการใช้งานที่ไม่เหมาะสม หรือหากสัมผัสถูกผิวหนังโดยตรงโดยไม่มีเครื่องป้องกัน จะทำให้เกิดการระคายเคืองเกิดผื่นคันภูมิแพ้ที่ผิวหนัง และอาจเป็นโรคผิวหนังได้

อาชีพเสี่ยงโรคผิวหนังจากสารเคมี

อาชีพที่มีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคผิวหนังจากสารเคมีได้แก่
- คนงานก่อสร้างที่ผสมปูนซีเมนต์

- คนงานในโรงงานที่เกี่ยวข้องกับโลหะ เครื่องหนัง ยางสีย้อมผ้า กาวพลาสติก เส้นใยแก้ว สีพ่น รวมทั้งน้ำมันเบนซิน และน้ำมันเครื่อง
- คนที่ต้องทำงานสัมผัสกับอุปกรณ์ที่ทำจากโลหะชุบนิกเกิล งานอุตสาหกรรมทำเครื่องหนัง ดอกไม้พลาสติก
- เกษตรกรที่ต้องใช้ปุ๋ยสารกำจัดแมลงศัตรูพืช

วิธีป้องกันโรคผิวหนังจากสารเคมี

ผู้ที่ประกอบอาชีพดังกล่าวข้างต้นควรดูแลสุขภาพของตนเอง โดยเฉพาะผู้ที่เป็นภูมิแพ้ควรระวังเป็นพิเศษ โดยสวมอุปกรณ์ป้องกันสารเคมีก่อนเริ่มปฏิบัติงาน เช่น สวมถุงมือที่ทำจากวัสดุพีวีซีหรือยาง ใช้ผ้ากันเปื้อน หรือสวมชุดป้องกัน เป็นต้นโดยเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับงาน หากมีอาการแพ้หรือมีผื่นคันขึ้นตามผิวหนังให้รีบพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาต่อไป
นายแพทย์สมบูรณ์  ทศบวร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องจากโรคผิวหนังทำให้เกิดการระคายเคือง ผื่นคัน และมักเป็นๆ หายๆ เกิดปัญหาทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย ดังนั้นแนวทางการป้องกันโรคผิวหนังที่เกิดจากสารเคมี ได้แก่ หยุดสัมผัสสิ่งที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองหรือภูมิแพ้โดยเลือกใช้สารที่อันตรายน้อยกว่าหรือปรับปรุงวิธีการทำงานให้มีโอกาสสัมผัสกับสารต่างๆให้น้อยที่สุด หมั่นทำความสะอาดพื้นบริเวณที่ทำงานเป็นประจำ และใช้ครีมทามือเพื่อป้องกันสารระคายเคือง ช่วยให้ทำความสะอาดมือง่ายขึ้น หรือใช้ครีมให้ความชุ่มชื้นทาผิวช่วยลดความแห้งตึงของผิวได้ หากมีบาดแผลต้องรีบทำความสะอาด  และปิดแผลด้วยผ้าปิดแผลที่สะอาด
ถ้าหากมีการระคายเคืองหรือผดผื่นเกิดขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เนื่องจากกรณีที่ผิวหนังแห้ง แตก เป็นแผล หากติดเชื้อจะทำให้โรคผิวหนังที่เป็นอยู่ลุกลามมากยิ่งขึ้น
 ที่มา : sanook.com

- ข่าวสาร ความรู้เคมี #8 -

"กษ."สอบเส้นทางเงิน"ผู้บริหาร" เอี่ยว"พ่อค้า"สารเคมี






"จ่อสอบเส้นทางการเงิน ข้าราชการระดับสูง กระทรวงเกษตรฯเอี่ยวอนุญาตนำเข้า3สารพิษ ปูดค่าใบอนุญาตมากกว่า 7 หลักต่อใบ พร้อมให้หัวคิวลิตรละ1 บาท "

เมื่อวันที่ 19 ส.ค.แหล่งข่าวระดับสูงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยกรณีมีกระแสโจมตีผู้บริหารกระทรวงเกษตรฯ เรื่องรับผลประโยชน์จากกลุ่มพ่อค้านำเข้าสารเคมีวัตถุอัตราย 3 ชนิดใช้กำจัดศัตรูพืชและโรคแมลง พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต จึงไม่เสนอแบนสารเคมี 3 ตัวดังกล่าว ว่า ประเด็นดังกล่าวจะมีการตรวจสอบเส้นการเงินข้าราชการระดับผู้บริหาร ข้าราชการที่เกี่ยวข้อง และอดีตผู้บริหาร หลังจากเครือข่ายเอกชน สนับสนุนการแบน3 สารพิษ จะไปฟ้องร้องดำเนินคดีกับหน่วยงานที่รับผิดชอบในสัปดาห์นี้ ซึ่งมีข้อครหากระทรวงเกษตรฯ มาต่อเนื่อง ในเรื่องผลประโยชน์ว่ามีการเรียกรับเงินมากว่า 7 หลัก ค่าใบอนุญาตต่างๆ โดยพ่อค้ายังจ่ายหัวคิว ลิตรละ1 บาท ทั้งนี้จากสถิตินำเข้าสารเคมี ปีละ 4-5 หมื่นตัน. 


ที่มา : dailynews.co.th

วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2561

- ข่าวสาร ความรู้เคมี #7 -

ข้อควรรู้ก่อนทาลิปสติก อันตรายแฝงจากสารเคมีที่พร้อมส่งผลเสียต่อสุขภาพ

ข้อควรรู้ก่อนทาลิปสติก อันตรายแฝงจากสารเคมีที่พร้อมส่งผลเสียต่อสุขภาพ


ในยุคนี้เราจะเห็นว่ามีลิปสติกสีสันสดใสผลิตออกมามากขึ้น ยิ่งสีสดแค่ไหน ก็ยิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเท่านั้น แถมบางยี่ห้อยังเคลมอีกด้วยว่าเป็นลิปสติกที่สามารถติดทนอยู่กับริมฝีปากได้นานตลอดวันไม่มีหลุดในการทาเพียงแค่ครั้งเดียว หารู้ไม่ว่ามันเต็มไปด้วยสารเคมีที่ไม่ควรสัมผัสถูกผิวหนัง ไม่ว่าจะเป็น สารกันบูดที่มักผสมอยู่ในเครื่องสำอางทั่วๆ ไป, พาราเบน, เมธอะคริเลท, สารตะกั่วปนเปื้อน และไตรโครซาน ฯลฯ
สารเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบฮอร์โมน เข้าไปรบกวนการทำงานของสมอง กล้ามเนื้อ และอัตราการเต้นของหัวใจ นอกจากนี้จากผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นถึงความน่าวิตกว่าสารเคมีมากมายจากลิปสติกที่เข้าไปสะสมในร่างกาย จะเป็นตัวการทำให้เชื้อโรคดื้อยาปฏิชีวนะตามมา ส่งผลให้การรักษาอาการยุ่งยากและรุนแรงมากขึ้น
เมธอะคริเลทเป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติก แต่มันกลับถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมของลิปสติกที่มีสีฉูดฉาด ทำให้สีหลุดลอกได้ยาก สารชนิดนี้เมื่อร่างกายได้รับเข้าไปแล้ว จะส่งผลให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง ในระยะแรกจะแสดงอาการมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความถี่ในการทาของสาวๆ แต่ละคน ทั้งนี้อาการระคายเคืองที่เกิดขึ้นสามารถพัฒนากลายเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเองที่เรารู้จักกันว่าโรค SLE ได้อีกด้วย เป็นตัวการส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายแปรปรวน ไวต่อสิ่งแปลกปลอมมากเกินปกติ เกิดภาวะอักเสบตามผิวหนัง หากไม่รีบทำการรักษาจะยิ่งลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ของอวัยวะได้
ที่มา : sanook.com