วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2561

- ข่าวสาร ความรู้เคมี #9 -

4 อาชีพเสี่ยง "โรคผิวหนังจากสารเคมี"
โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ เผยผู้ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม และอาชีพเกษตรกรเสี่ยงโรคผิวหนังที่เกิดจากสารเคมี แนะสวมอุปกรณ์ป้องกัน หลีกเลี่ยงการสัมผัส หากมีอาการระคายเคือง หรือผดผื่นให้รีบไปพบแพทย์

โรคผิวหนัง จากสารเคมี

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคผิวหนังที่เกิดจากสารเคมี เป็นโรคที่พบบ่อยมากในกลุ่มผู้ที่ทำงานก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม และอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้วัสดุและสารเคมีที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังอย่างแพร่หลาย มีการใช้งานที่ไม่เหมาะสม หรือหากสัมผัสถูกผิวหนังโดยตรงโดยไม่มีเครื่องป้องกัน จะทำให้เกิดการระคายเคืองเกิดผื่นคันภูมิแพ้ที่ผิวหนัง และอาจเป็นโรคผิวหนังได้

อาชีพเสี่ยงโรคผิวหนังจากสารเคมี

อาชีพที่มีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคผิวหนังจากสารเคมีได้แก่
- คนงานก่อสร้างที่ผสมปูนซีเมนต์

- คนงานในโรงงานที่เกี่ยวข้องกับโลหะ เครื่องหนัง ยางสีย้อมผ้า กาวพลาสติก เส้นใยแก้ว สีพ่น รวมทั้งน้ำมันเบนซิน และน้ำมันเครื่อง
- คนที่ต้องทำงานสัมผัสกับอุปกรณ์ที่ทำจากโลหะชุบนิกเกิล งานอุตสาหกรรมทำเครื่องหนัง ดอกไม้พลาสติก
- เกษตรกรที่ต้องใช้ปุ๋ยสารกำจัดแมลงศัตรูพืช

วิธีป้องกันโรคผิวหนังจากสารเคมี

ผู้ที่ประกอบอาชีพดังกล่าวข้างต้นควรดูแลสุขภาพของตนเอง โดยเฉพาะผู้ที่เป็นภูมิแพ้ควรระวังเป็นพิเศษ โดยสวมอุปกรณ์ป้องกันสารเคมีก่อนเริ่มปฏิบัติงาน เช่น สวมถุงมือที่ทำจากวัสดุพีวีซีหรือยาง ใช้ผ้ากันเปื้อน หรือสวมชุดป้องกัน เป็นต้นโดยเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับงาน หากมีอาการแพ้หรือมีผื่นคันขึ้นตามผิวหนังให้รีบพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาต่อไป
นายแพทย์สมบูรณ์  ทศบวร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องจากโรคผิวหนังทำให้เกิดการระคายเคือง ผื่นคัน และมักเป็นๆ หายๆ เกิดปัญหาทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย ดังนั้นแนวทางการป้องกันโรคผิวหนังที่เกิดจากสารเคมี ได้แก่ หยุดสัมผัสสิ่งที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองหรือภูมิแพ้โดยเลือกใช้สารที่อันตรายน้อยกว่าหรือปรับปรุงวิธีการทำงานให้มีโอกาสสัมผัสกับสารต่างๆให้น้อยที่สุด หมั่นทำความสะอาดพื้นบริเวณที่ทำงานเป็นประจำ และใช้ครีมทามือเพื่อป้องกันสารระคายเคือง ช่วยให้ทำความสะอาดมือง่ายขึ้น หรือใช้ครีมให้ความชุ่มชื้นทาผิวช่วยลดความแห้งตึงของผิวได้ หากมีบาดแผลต้องรีบทำความสะอาด  และปิดแผลด้วยผ้าปิดแผลที่สะอาด
ถ้าหากมีการระคายเคืองหรือผดผื่นเกิดขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เนื่องจากกรณีที่ผิวหนังแห้ง แตก เป็นแผล หากติดเชื้อจะทำให้โรคผิวหนังที่เป็นอยู่ลุกลามมากยิ่งขึ้น
 ที่มา : sanook.com

- ข่าวสาร ความรู้เคมี #8 -

"กษ."สอบเส้นทางเงิน"ผู้บริหาร" เอี่ยว"พ่อค้า"สารเคมี






"จ่อสอบเส้นทางการเงิน ข้าราชการระดับสูง กระทรวงเกษตรฯเอี่ยวอนุญาตนำเข้า3สารพิษ ปูดค่าใบอนุญาตมากกว่า 7 หลักต่อใบ พร้อมให้หัวคิวลิตรละ1 บาท "

เมื่อวันที่ 19 ส.ค.แหล่งข่าวระดับสูงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยกรณีมีกระแสโจมตีผู้บริหารกระทรวงเกษตรฯ เรื่องรับผลประโยชน์จากกลุ่มพ่อค้านำเข้าสารเคมีวัตถุอัตราย 3 ชนิดใช้กำจัดศัตรูพืชและโรคแมลง พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต จึงไม่เสนอแบนสารเคมี 3 ตัวดังกล่าว ว่า ประเด็นดังกล่าวจะมีการตรวจสอบเส้นการเงินข้าราชการระดับผู้บริหาร ข้าราชการที่เกี่ยวข้อง และอดีตผู้บริหาร หลังจากเครือข่ายเอกชน สนับสนุนการแบน3 สารพิษ จะไปฟ้องร้องดำเนินคดีกับหน่วยงานที่รับผิดชอบในสัปดาห์นี้ ซึ่งมีข้อครหากระทรวงเกษตรฯ มาต่อเนื่อง ในเรื่องผลประโยชน์ว่ามีการเรียกรับเงินมากว่า 7 หลัก ค่าใบอนุญาตต่างๆ โดยพ่อค้ายังจ่ายหัวคิว ลิตรละ1 บาท ทั้งนี้จากสถิตินำเข้าสารเคมี ปีละ 4-5 หมื่นตัน. 


ที่มา : dailynews.co.th

วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2561

- ข่าวสาร ความรู้เคมี #7 -

ข้อควรรู้ก่อนทาลิปสติก อันตรายแฝงจากสารเคมีที่พร้อมส่งผลเสียต่อสุขภาพ

ข้อควรรู้ก่อนทาลิปสติก อันตรายแฝงจากสารเคมีที่พร้อมส่งผลเสียต่อสุขภาพ


ในยุคนี้เราจะเห็นว่ามีลิปสติกสีสันสดใสผลิตออกมามากขึ้น ยิ่งสีสดแค่ไหน ก็ยิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเท่านั้น แถมบางยี่ห้อยังเคลมอีกด้วยว่าเป็นลิปสติกที่สามารถติดทนอยู่กับริมฝีปากได้นานตลอดวันไม่มีหลุดในการทาเพียงแค่ครั้งเดียว หารู้ไม่ว่ามันเต็มไปด้วยสารเคมีที่ไม่ควรสัมผัสถูกผิวหนัง ไม่ว่าจะเป็น สารกันบูดที่มักผสมอยู่ในเครื่องสำอางทั่วๆ ไป, พาราเบน, เมธอะคริเลท, สารตะกั่วปนเปื้อน และไตรโครซาน ฯลฯ
สารเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบฮอร์โมน เข้าไปรบกวนการทำงานของสมอง กล้ามเนื้อ และอัตราการเต้นของหัวใจ นอกจากนี้จากผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นถึงความน่าวิตกว่าสารเคมีมากมายจากลิปสติกที่เข้าไปสะสมในร่างกาย จะเป็นตัวการทำให้เชื้อโรคดื้อยาปฏิชีวนะตามมา ส่งผลให้การรักษาอาการยุ่งยากและรุนแรงมากขึ้น
เมธอะคริเลทเป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติก แต่มันกลับถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมของลิปสติกที่มีสีฉูดฉาด ทำให้สีหลุดลอกได้ยาก สารชนิดนี้เมื่อร่างกายได้รับเข้าไปแล้ว จะส่งผลให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง ในระยะแรกจะแสดงอาการมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความถี่ในการทาของสาวๆ แต่ละคน ทั้งนี้อาการระคายเคืองที่เกิดขึ้นสามารถพัฒนากลายเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเองที่เรารู้จักกันว่าโรค SLE ได้อีกด้วย เป็นตัวการส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายแปรปรวน ไวต่อสิ่งแปลกปลอมมากเกินปกติ เกิดภาวะอักเสบตามผิวหนัง หากไม่รีบทำการรักษาจะยิ่งลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ของอวัยวะได้
ที่มา : sanook.com

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2561

- ข่าวสาร ความรู้เคมี #6 -

ตรวจสอบแล้ว! สารเคมี ใน ซ.พหลฯ24 เป็น อีลีเดียม 192

เมื่อเวลาประมาณ 15.20 น. ที่ผ่านมา เพจ FM. 91 Trafficpro ได้รายงานว่าเกิดเหตุสารเคมีรั่วไหลในโกดังสินค้าแห่งซ.พหลฯ 24 เบื้องต้นเจ้าหน้าที่จากสำนักงานปรมณูเพื่อสันติ เข้าตรวจสอบแล้ว พร้อมสั่งเร่งอพยพคนออกจากพื้นที่ และประกาศให้ประชาชนที่อยู่บริเวณดังกล่าว ปิดประตูและหน้าต่างเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

สารกัมมันตรังสีโคบอลต์ 60

เบื้องต้นคาดว่า เป็น สารกัมมันตรังสีโคบอลต์ 60 ซึ่งเป็นสารอันตราย ที่ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ที่ถูกรังสีนี้จะให้เกิดเม็ดเลือดขาวต่ำ มีอาการอ่อนเพลีย มือไหม้พอง และสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งบางคนมีอาการตื่นกลัวไม่ยอมรักษาโดยวิธีฉายรังสีจากโคบอลท์-60 หรือสารรังสีหรือแร่โคบอลท์-60 ประกอบด้วย รังสีแกมม่าและรังสีเบต้าและรังสีที่ใช้เป็นตัวรักษาเป็นอันตราย
     รังสีแกมมา มีแรงทะลุทลวงมากกว่า รังสีเบต้ามากโคบอลท์-60 เป็นสารรังสีที่ใช้ในทางการแพทย์ในไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2501 โดยปัจจุบันใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีแกมม่า สำหรับรักษาโรคมะเร็ง โดยอาศัยคุณสมบัติของรังสีที่สามารถทำลายเซลล์มะเร็ง ทำให้ผู้ป่วยหายจากโรคมะเร็งได้ และปัจจุบันนี้ก็มีผู้ป่วยมะเร็งชาวไทยจำนวนมากมายที่รอดชีวิตจากโรคมะเร็งเกิน 10-30 ปี
ที่มา news.mthai

ล่าสุด 
   เจ้าหน้าที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติเข้าตรวจสอบถังสารเคมีที่พบในซอยพหลโยธิน 24 แยก 2-1 ไม่ใช่กัมมันตรังสี ชนิดโคบอลต์60  แต่เป็นสารอีลีเดียม 192 ไม่พบการรั่วไหล
คืบหน้าล่าสุดเจ้าหน้าที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ยืนยันสารเคมีที่พบไม่ใช่โคบอล์ต 60 ไม่มีการรั่วไหล ระบุเป็นอีลีเดียม 192 ใช้ตรวจรอยเชื่อมในภาคอุตฯ ระดับรังสีหมดลงแล้ว พร้อมระบุว่าแม้ตรวจจสอบพบว่าอุปกรณ์ชิ้นนี้จะใช้งานและระดับรังสีหมดไปแล้ว ก็จะเคลื่อนย้ายไปไว้ที่สำนักงานเพื่อให้ประชาชนมั่นใจ

โดยเจ้าหน้าที่จากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากนี้สามารถตรวจสอบได้ว่าบริษัทใดเป็นผู้นำเข้าอุปกรณ์ชิ้นนี้ การนำมาทิ้งไว้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะทำการสอบสวนต่อไปเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด ส่วนใครที่พบเจอวัตถุต้องสงสัยที่มีสัญลักษณ์เกี่ยวกับรังสี สามารถแจ้งได้ที่ 089-200-6243 ได้ตลอด 24 ชม.
ข้อมูลจาก VoiceTv


วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2561

- ข่าวสาร ความรู้เคมี #5 -

วิทยาศาสตร์เปลี่ยน CO2 ให้กลายเป็น ‘หิน’ ใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือน



กิจกรรมของมนุษย์ปล่อย ‘คาร์บอนไดออกไซด์’ (CO2) ปริมาณมหาศาล แม้เราสามารถพัฒนาวิทยาการเพื่อลดการปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศได้แล้ว แต่ค่าใช้จ่ายยังโขอยู่ แล้วเรามีวิธีที่ดีกว่านี้ไหม?
ถ้าอย่างนั้นก็ฝังให้กลายเป็น ‘หิน’ ซะเลยสิ! ทีมนักวิจัยนานาชาติพยายามศึกษาความเป็นไปได้ โดยการปั้ม CO2 ลงไปในชั้นใต้ดินและเปลี่ยนสารองค์ประกอบมันเสียหน่อย ซึ่ง CO2 จะกลายเป็นของแข็งโดยใช้เวลาไม่กี่เดือน ทำให้การจัดการกากของเสียจากโรงไฟฟ้าเป็นไปได้อย่างปลอดภัยและรบกวนธรรมชาติน้อยที่สุด
โครงการนี้ใช้ชื่อรหัสว่า CarbFix ทดลองติดตั้งในโรงไฟฟ้า Hellisheidi โดยปั้มลงไปชั้นหินบะซอลภูเขาไฟใต้โรงงานนี้เอง เมื่อหินบะซอลทำปฏิกิริยากับ CO2 และน้ำ ตะกอนคาร์บอนจะเปลี่ยนเป็นสีขาวมีความแข็ง ไม่ซึมขึ้นมาบนผิวดิน ไม่ละลายน้ำ ตัดปัญหาการปนเปื้อนสภาพแวดล้อมแบบโล่งอกโล่งใจ
อ้างอิง : science.sciencemag.org


ที่มา TheMATTER 




วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2561

- ข่าวสาร ความรู้เคมี #4 -

แอลเอชซีทดลองเร่งอะตอมตัวแรกเข้าใกล้ความเร็วแสง

เครื่องชนอนุภาค LHC
องค์การเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรปหรือเซิร์น (CERN) แถลงว่าเครื่องชนอนุภาคขนาดใหญ่แอลเอชซี (LHC)ได้ทำการทดลองพิเศษก่อนปิดเครื่องซ่อมบำรุงประจำปี โดยได้เร่งให้อนุภาคของตะกั่วทั้งอะตอมเข้าใกล้ความเร็วแสง ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญไปสู่การผลิตรังสีแกมมาพลังงานสูงที่อาจนำไปสู่การค้นพบสสารชนิดใหม่ได้
ตามปกติแล้วเครื่องชนอนุภาคแอลเอชซีมักทำการทดลองชนโปรตอน ซึ่งเป็นอนุภาคมูลฐานภายในนิวเคลียสของอะตอมเป็นหลัก แต่ในการทดลองพิเศษเมื่อวันที่ 25 ก.ค. ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ตัดสินใจทดลองเร่งความเร็วของสสารทั้งอะตอมให้เข้าใกล้ความเร็วแสงเป็นครั้งแรก โดยใช้อะตอมของตะกั่วที่มีอิเล็กตรอน 1 ตัวในการทดลองครั้งนี้
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ cern logoนักฟิสิกส์และวิศวกรของเซิร์นระบุว่า การทดลองดังกล่าวถือเป็นขั้นแรกในการทดสอบแนวคิด "โรงงานรังสีแกมมา" (Gamma Factory) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญคาดว่าการเร่งสสารทั้งอะตอมจะทำให้แอลเอชซีสามารถผลิตลำแสงรังสีแกมมาพลังงานสูงไว้ใช้ เพื่อค้นหาสสารชนิดใหม่ ๆ เช่นสสารที่มีมวลมาก หรือแม้แต่ผลิตสสารมืด (Dark matter) ขึ้นมาเองได้
หากแอลเอชซีสามารถเพิ่มศักยภาพในการเป็น "โรงงานรังสีแกมมา" ได้สำเร็จ จะมีการใช้เลเซอร์ยิงอะตอมที่ถูกเร่ง เพื่อให้อิเล็กตรอนกระโดดสู่ระดับพลังงานที่สูงขึ้น เมื่ออิเล็กตรอนดังกล่าวกลับคืนสู่ภาวะปกติ จะมีการคายพลังงานในรูปของโฟตอนหรืออนุภาคของแสงที่มีพลังมหาศาลออกมา ซึ่งก็คือลำแสงรังสีแกมมาที่ต้องการนั่นเอง
แต่อย่างไรก็ตาม การเร่งอนุภาคทั้งอะตอมนั้นทำได้ยาก เพราะโครงสร้างของอะตอมที่เปราะบางอาจทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกไประหว่างการทดลองและส่วนนิวเคลียสชนเข้ากับผนังท่อเร่งความเร็วได้ จึงต้องมีการทดสอบหาระดับพลังงานในการเร่งอนุภาคทั้งอะตอมที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดลำรังสีแกมมาที่มีความเสถียรเป็นเวลานานมากเพียงพอต่อการใช้งาน
รังสีแกมมาพลังงานสูงสามารถให้กำเนิดอนุภาคชนิดต่าง ๆ ทั้งที่เป็นสสารชนิดปกติทั่วไปเช่น ควาร์ก อิเล็กตรอน และอนุภาคมิวออน รวมทั้งสสารที่มีมวลมากซึ่งสามารถเปลี่ยนรูปต่อไปเป็นสสารหายากเช่นสสารมืดได้
ที่มา : BBC News Thai

- ข่าวสาร ความรู้เคมี #3 -


สั่งปิดโรงงานซิลิโคนเคมีรั่ว ชี้เกิดจากท่อเสื่อมสภาพ


ระทึก! โรงงานซิลิโคน ระยอง สารเคมีรั่วไหล ระบุเป็นโรงงานเดียวที่เคยเกิดเหตุเมื่อ 3 เดือนก่อน ด้านรองผวจ.โรงงานแจงเกิดจากท่อเสื่อมสภาพ นิคมเอเซียฯสั่งปิดจนกว่าจะซ่อมจนได้มาตรฐานพุธที่ 24 มกราคม 2561 เวลา 13.46 น.


เมื่อวันที่ 24 ม.ค.นายฉกาจ พัฒนศรี ผอ.สำนักงานนิคมอุตสาหกรรม ร่วมดำเนินการกลุ่มมาบตาพุด จ.ระยอง ได้รับแจ้งเกิดเหตุสารเคมีรั่วไหลที่ บริษัทเอเซีย ซิลิโคน โมโนเมอร์จำกัด (ASM) นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย เลขที่ 1 หมู่ 2 ต.บ้านฉาง อ.บ้านฉาง จ.ระยอง มีควันสีขาวพวยพุ่งทั่วบริเวณ จึงประสานไปทางบริษัทที่เกิดเหตุ และเจ้าหน้าที่เดินทางเข้าตรวจสอบในที่เกิดเหตุทันที โดยที่เกิดเหตุพบควันสีขาวได้ฟุ้งกระจายปกคลุมบริเวณท่อส่งสารเคมีภายในโรงงาน ซึ่งทางทีมดับเพลิงของทางบริษัท ได้มีการนำสารดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ไปฉีดปกคลุมในจุดที่มีสารรั่วไหลโดยใช้เวลานานประมาณ 1 ชั่วโมง จึงสามารถสกัดการรั่วไหลไว้ได้

ด้านนายอรรถพงศ์ ลิมปนารักษ์ รองผู้จัดการทั่วไป บริษัทเอเซีย ซิลิโคนส์ โมโนเมอร์ จำกัด กล่าวว่า สำหรับสาเหตุเกิดจากการรั่วไหลของสารไซเลนในระบบท่อ ส่งสารไซเลนจากถังปฏิกิริยาเมธิคลอโลไซเลน (MCS reactor ,RE-12201)ซึ่งเป็นสารตั้งต้นผลิตซิลิโคน ได้รั่วตรงช่วงข้องอของท่อ ซึ่งอาจเกิดจากความเสื่อมสภาพ  ซึ่งทางทีมตอบโต้ฉุกเฉินของบริษัทเข้าระงับเหตุทันที

ขณะที่นายฉกาจ พัฒนศรี ผอ.สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมร่วมฯ กล่าวว่า ขณะนี้ได้ให้ทางโรงงานหยุดดำเนินการบริเวณจุดเกิดเหตุเป็นการชั่วคราวและหาสาเหตุ พร้อมให้ควบคุมดูแลปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำอีก และให้รายงานภายใน 15 วัน  

สำหรับบริษัทนี้เคยเกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้นที่ขบวนการผลิต เมื่อวันที่ 19 ต.ค.60 ที่ผ่านมาเช่นกัน 


ที่มา : เดลินิวส์